Reflecting on Cyber Subin

ไม่เคยคิดมาก่อน ว่าชีวิตนี้จะได้เห็นโค้ด interactive ของตัวเองอยู่บนเวทีเทศกาลแสดงศิลปะ

เราทำโปรเจคแปลกๆ มาเยอะพอสมควร ตั้งแต่วงจรเก็บวิดิโอการทดลองบนอวกาศในจรวด Blue Origin, ระบบสร้างโฆษณาสามมิติ หรือคอมพิวเตอร์ที่สามารถแต่งดนตรีด้วยภาษา assembly แต่ครั้งนี้พิเศษกว่าครั้งอื่นมากๆ

สองปีก่อน พี่พี Pat Pataranutaporn พาเราไปรู้จักกับพี่พิเชษฐ์ Pichet Klunchun ในโปรเจคแฮคนาฎศิลป์ ปัจจุบันท่ารำ 59 แม่บทไทยมันถูกแช่แข็งไว้ ไม่มีใครเอาไปดัดแปลง เราจะ democratize นาฎศิลป์ให้เปิดกว้างได้ยังไง

อย่างเกม home sweet home จะเพิ่มท่ารำในเกม กระทรวงวัฒนธรรมก็ไม่ยอม มันเป็นของมีครู เด็กไทยเรียนไปก็ไม่ได้เอาไปสร้าง dance ที่ตัวเองสนใจได้

ตอนนั้นเราเริ่มทำความเข้าใจกับโมเดลของ six elements จากงานวิจัย number 60 ของพี่พิเชษฐ์ ลองโมเดลท่ารำในนาฎศิลป์ออกมาเป็นโค้ดดู วันนั้นเราเริ่มรู้สึกว่าโค้ดจะมีบทบาทสำคัญกับการปลดแอกท่ารำ ให้นำไปพัฒนาต่อได้

ผ่านไปปีนึง โปรเจค cyber subin (ไซเบอร์-สุบิน) ก็เริ่มขึ้น จากพื้นเรื่องราวความฝันของทศกัณฐ์ และทฤษฎีของ cybernetics

ตอนแรก เราเริ่มจากการลองนำข้อมูล motion capture จากพี่โบ Piyaporn Bhongse-tong มาลองเล่นดู ว่าเราสามารถใช้โค้ดเพื่อสร้างท่าเต้น ท่ารำใหม่ๆ ได้ไหม และข้อจำกัดมันคืออะไร

ตอนแรกเราคิดว่าจะใช้พวก LSTM, Markov Chain หรือ deep learning เข้ามาสร้างท่า แต่ด้วยความที่ training data ของท่ารำไม่ได้มีเยอะ และเราอยากมี control over each elements เราเลยใช้คณิตศาสตร์ในการ transform ข้อมูลอนิเมชั่นแทน เพราะจะได้มี precise control ในการตีความมากกว่า

ผ่านไปเกือบแปดเดือน เราค่อยๆ เขียนโปรแกรมแต่ละองค์ประกอบ ทดลองกับนักเต้น เปลี่ยน modes of interaction จากตอนแรกที่เป็น parametric controls เป็นสั่งงานด้วย natural language โดยใช้ GPT-3.5 แต่สุดท้ายเราอยากให้คนดูมีส่วนร่วมได้ง่าย เลยใช้แบบ step-by-step voice command แทน

จนเวลาผ่านไปสัปดาห์ที่แล้ว เราบินไปไทเปวันที่ 4 พร้อมกับพี่ๆ ทีมงาน ไปทำงานกับนักเต้น เป็นสัปดาห์ที่โคตร intense มาก ตั้งแต่สิบโมงยันสี่ห้าทุ่ม

แต่ทุกครั้งที่ซ้อม ทุกครั้งที่แสดง พอได้เห็นสิ่งที่เราทำมันได้อยู่ในโชว์กว่าครึ่งชั่วโมงในทุกๆ รอบ มันมีความสุขทุกครั้งที่ได้เห็นนักเต้นและคนดูเค้า interact กับระบบที่เราทำ ได้เห็น cybernetic feedback loop ระหว่างนักเต้นด้วยกันเอง ตัวละครในโปรแกรม จนถึงคนดูที่เล่นโปรแกรมเราแบบไม่ยั้ง

ครั้งนี้เป็น technical stage crew ด้วย คอยรันระบบ ตื่นเต้นมากทุกครั้งที่แสดง ฟีลเหมือนเป็น DevOps ในคนเดียว เน็ตจะพังมั้ย เสียงจะออกมั้ย คีย์บอร์ดจะต่อมั้ย API แม่งจะล่มมั้ย กด scene control ทุกครั้งนี่ลุ้นมาก แต่พี่ๆ เค้า emotionally support เราดีมาก 555

แน่นอนว่าทำซอฟต์แวร์เรามีบัค แสดงสี่รอบมีบัคไปสามรอบ ตั้งแต่ combinatorial explosion ของตัวแปรทำให้มี emergent property ที่เราไม่คิดถึง ไปจนถึง web audio api มัน auto suspend เสียง จนถึงคีย์บอร์ดต่อไม่ติด แต่ทุกคนแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเก่งมาก มันเครียด ตื่นเต้น กังวล แต่คุ้มค่ามาก

โปรเจคนี้ใช้เวลาโค้ดไปเยอะมาก เพิ่มๆ ลดๆ ไปเยอะ ตามธรรมชาติของการทดลอง จนถึงวันสุดท้ายที่แสดง รวมตอนนี้น่าจะ 600 กว่า commits แล้ว

ทีมเรารอบนี้คือมีแต่คนเทพๆ รู้สึก appreciate มากที่ได้ทำงานกับคนกลุ่มนึ้

  • พี่พี ที่ชวนเรามาทำ ช่วยเราคิด แก้ปัญหา ออกแบบ ช่วยเราตั้งคำถามกับสิ่งที่ทำตลอดเวลา มาคิดวิธีแก้บัค วิธี optimize ด้วยกัน ถ้าไม่มีพี่พีพีก็คงไม่ได้ทำโปรเจคนี้ เพราะเค้าคอย bridge โลกของศิลปะให้โปรแกรมเมอร์อย่างเราค่อยๆ เข้าใจ

  • พี่โบ ที่ support ตั้งแต่จัดแสงวางไฟ ตัวละคร อนิเมชั่น แนะนำไอเดีย ไอเดียแก้บัค คอยช่วยตอนรันระบบ on stage จนถึง emotional support รู้สึกว่าพี่โบเป็นคนที่เทพและ inter-disciplinary ผสมผสานศาสตร์ต่างๆ ได้ลงตัวมาก เราอยากทำให้ได้บ้าง

  • พี่พิเชษฐ์ ที่ทำให้เราได้ appreciate ศิลปะ นาฎศิลป์ และ interaction ของมนุษย์ นักเต้น และวิทยาศาสตร์ในมุมที่เราไม่คิดมาก่อน คุยกับพี่พิเชษฐ์ทุกครั้งก็ insightful ทุกครั้ง ได้คิดอะไรเยอะ ได้เห็นความเป็นไปได้ของโลกศิลปะที่มันเชื่อมโยงกับซอฟต์แวร์และเทคโนโลยีผ่านกฎ ตรรกะ เหตุผล และคณิตศาสตร์

  • พี่จิ EJi Eaim ที่คอย support เราทุกวันที่ซ้อมและแสดงจริง วางระบบ technical และ cue ทุกอย่าง จนโปรแกรมของเราเอาไปใช้ใน stage environment ได้อย่างน่าเหลือเชื่อ รู้สึกได้รู้อะไรเยอะขึ้นมาก

  • ปั๊บ Chayapatr ที่อยู่ด้วยกันตั้งแต่วันแรก คอยช่วยเรื่อง maths & algorithms ที่เราไม่เก่งและทำไม่ได้ ปั๊บจูน elements บางอันอย่าง external body space ให้ออกมาสวยขึ้น ชัดขึ้นด้วย

  • พี่ฮานอย Lamtharn Hantrakul ที่ inspire เรามากๆ คุยกับพี่ฮานอยคือเปิดโลกเรื่องดนตรีมาก และทำให้เราอยากเป็น AI researcher มาก จนเอาเพลงไปแนะนำหลายคนมาก จนเกิดเป็นงาน a bit of thai tunes ที่กำลังจะจัดเดือนหน้า

  • พี่เดือน Sojirat Singholka ที่คอย support เรื่องต่างๆ อย่างที่เราได้ไปทำงานกับนักเต้นและโชว์ที่ไทเปก็เพราะพี่เดือน เป็น 7 วันที่แฮปปี้และมันส์มาก

  • Ray Tseng ที่ทำให้พื้นผิวสองมิติของโปรเจคเตอร์ มันเชื่อมโยงกับโลกของนักเต้นได้ผ่านแสงไฟ ตอนเขียนโปรแกรมเราว่าเจ๋งแล้ว พอได้จัดแสงบนสเตจกับนักเต้นยิ่งเจ๋งเลย

  • พี่ๆ นักเต้นทั้งสี่คน Terry Tsang King Fai, Padung Jumpan, Tas Chongchadklang, Chang Hung Chung ที่ทำให้เทคโนโลยีที่เราทำมีความหมายขึ้นมา พอได้เห็นทุกคนเล่นสุด พอตัวมันม้วนก็ม้วนตาม หัวฟาดพื้นบ้าง ฟรีซตัวบ้าง มันทำให้เราในฐานะคนสร้างเทคโนโลยียิ้มได้ตลอด เวลาเห็นนักเต้น interact กับระบบแม่งอดภูมิใจไม่ได้

  • Lim How Ngean ที่ทำให้เราได้มา reflect กับงานที่ทำในเชิงศิลปะ ว่าความหมายของแต่ละนาทีในการทำงานศิลปะมันคืออะไร แต่ละซีนล้วนมีคำถาม มีความหมายเสมอ ทำให้เราตั้งคำถามกับโค้ดเราเช่นกัน

ดีใจมากที่ได้เป็นส่วนนึงของทีมนี้ฮะ ตื่นเต้นกับโชว์รอบถัดไปมาก อยากทำงานแบบนี้อีกA

#article#memo#reflection